วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

Learninr Log [English] - If Clause

การใช้ If Cluase
แบบที่ 1 If + Present Simple, Will + V1
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เช่น
  • If I have enough money, I will go to Japan. (ถ้าฉันมีเงิน ฉันจะไปญี่ปุ่น)
  • If he is late, we will have to the meeting without him. (ถ้าเขามาสาย เราจะต้องเริ่มการประชุมโดยไม่มีเขา)
  • I won’t go outside if the weather is cold. (ฉันจะไม่ออกไปข้างนอกถ้าอากาศมันเย็น)
  • If I have time, I will help you. (ถ้าฉันมีเวลา ฉันจะช่วยคุณ)
  • If you eat too much, you will get fat (ถ้าคุณกินมากเกินไป คุณก็จะอ้วน)
แบบที่ 2 If + Past Simple, would + V1 (would แปลว่า น่าจะ) (Past Simple à V2)
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในปัจจุบัน หรือ อนาคต เช่น
  • If I knew her name, I would tell you. (ถ้าฉันรู้ชื่อเธอ ฉันก็น่าจะบอกคุณ) [จริงๆ แล้วไม่รู้จักชื่อเธอ]
  • She would be safer if she had a car. (เธอน่าจะปลอดภัยกว่านี้ ถ้าเธอมีรถ) [จริงๆ แล้วเธอไม่มีรถ]
  • It would be nice if you helped me do the housework. [มันน่าจะดีถ้าคุณได้ช่วยฉันทำงานบ้านบ้าง] [จริงๆ แล้วเธอไม่ช่วยเลย]
  • If I were you, I would call her. (ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันน่าจะโทรหาเธอ) [จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้เป็นคุณ]
  • If I were you, I would not say that. (ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันก็ไม่น่าจะพูดเช่นนั้น) [จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้เป็นคุณ]
แบบที่ 3 If + Past perfect, would have + V3 (Past perfect -> Had + V3)
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต เช่น
  • If you had worked harder, you would have passed your exam.  (ถ้าคุณขยันให้มากกว่านี้ คุณก็น่าจะสอบผ่าน) [จริงๆ แล้วสอบตกไปแล้ว]
  • If you had asked me, I would have told you. (ถ้าคุณถามฉัน ฉันก็น่าจะบอกคุณไปแล้ว) [จริงๆ แล้วคุณไม่ได้ถาม]
  • I would have been in big trouble if you had not helped me. (ฉันน่าจะมีปัญหาไปแล้ว ถ้าคุณไม่ได้ช่วยฉันไว้) [จริงๆ แล้วคุณช่วยฉันไว้]
  • If I had met you before, we would have been together. (ถ้าฉันพบคุณก่อนหน้านี้ เราก็น่าจะได้อยู่ด้วยกันไปแล้ว) [จริงๆ แล้วฉันพบคุณช้าไป]

Learning Log [Thai] - กาพย์ฉบัง 16

กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง จำพวกกาพย์ มักจะเขียนรวมอยู่ในหนังสือประเภทคำฉันท์ หรือคำกาพย์ มีลักษณะสั้นกระชับ จึงมักจะใช้บรรยายความที่มีการเคลื่อนไหว กระชับ ฉับไว แต่ก็มีบ้าง ที่ใช้กาพย์ฉบับบรรยายถึงความงดงาม นุ่มนวลก็มี 
       กาพย์ฉบัง 16 นั้น นิยมแต่งกันมากโดยนำไปแต่งบทชมความงาม บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระพุทธเจ้า (บทสวดมนต์อ่านทำนองสรภัญญะ) บทพากย์ต่างๆ เช่น บทพากย์เอราวัณ เป็นต้น

        นอกจากนั้น จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน  มีการแต่งกาพย์ฉบังในการพรรณนาธรรมชาติ ชมสัตว์ ชมสวนหรือแต่งสรรเสริญพระเกียรติก็ได้

        กาพย์ฉบัง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์ฉบัง 16 เนื่องจากมีจำนวนคำ 16 คำ ในหนึ่งบท บ้างก็เรียกว่า กาพย์ 16 เฉยๆ ก็มี
      
๑. คณะ
      กาพย์ฉบังบทหนึ่ง มีบาทเดียว บาทหนึ่งมี 3 วรรค คือ
วรรคต้น(รับ)   มี    ๖ คำ
วรรคกลาง (รอง) มี    ๔ คำ
วรรคท้าย (ส่ง)  มี      คำ
บทหนึ่งจึงมีทั้งหมด      ๑๖  คำ

     การวางคณะให้สังเกตจากโครงสร้างแผนผังแผนผัง จะเห็นบรรทัดที่หนึ่งมีสองวรรค และบรรทัดที่สองมี ๑ วรรค วางเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
๒. สัมผัส
     กาพย์ฉบังมีลักษณะสัมผัสคล้ายกับกาพย์ยานี ๑๑ เพียงแต่มี ๓ วรรค การรับส่งสัมผัส เป็นดังนี้
เช่น

กระเทือน / กระทบ / กระแทก     ใช่ตก/ใช่แตก
แต่แทรก/รู้สึก/ในทรวง
(ศิวกานต์ ปทุมสูติ)

ตัวอย่างของกาพย์ฉบัง ๑๖ จากกาพย์พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่           
มะม่วง/พวงพลอง/ช้องนาง             หล่นเกลื่อน/เถื่อนทาง
กินพลาง/เดินพลาง/หว่างเนิน  
          
เห็นกวาง/ย่างเยื้อง/ชำเลืองเดิน        เหมือนอย่าง/นางเชิญ
พระแสง/สำอาง/ข้างเคียง  
          
เขาสูง/ฝูงหงส์/ลงเรียง                    เริงร้อง/ซ้องเสียง
สำเนียง/น่าฟัง/วังเวง  
          
กลางไพร/ไก่ขัน/บรรเลง               ฟังเสียง/เพียงเพลง
ซอเจ้ง/จำเรียง/เวียงวัง ฯลฯ
         ตัวอย่างกาพย์ฉบัง 16  ที่ไพเราะและมีชื่อเสียง มีดังนี้

 บทสวดมนต์สรรเสริญพระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ(อ่านทำนองสรภัญญะ)    


    *บทสรรเสริญพระธรรมคุณ*

ธรรมะคือคุณากร             ส่วนชอบสาธร      ดุจดวงประทีปชัชวาล

แห่งองค์พระศาสดาจารย์   ส่องสัตว์สันดาน     สว่างกระจ่างใจมล

ธรรมใดนับโดยมรรคผล     เป็นแปดพึงยล       และเก้านับทั้งนฤพาน

สมญาโลกอุดรพิสดาร       อันลึกโอฬาร        พิสุทธิ์พิเศษสุกใส

อีกธรรมต้นทางครรไล      นามขนานขานไข   ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง

คือทางดำเนินดุจครอง      ให้ล่วงลุปอง        ยังโลกอุดรโดยตรง

ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์       นบธรรมจำนง       ด้วยจิตและกายวาจาฯ